อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein)

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงและเคยถูกยกย่องว่าเป็น “นายแห่งวิทยาศาสตร์” ในบทความนี้เราจะไปสำรวจชีวประวัติของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และสำรวจผลงานที่เขาได้ทำในวงการวิทยาศาสตร์ พร้อมกับข้อมูลน่าสนใจเกี่ยวกับความสำเร็จและความสนใจของเขา อ่านต่อเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติม

วันเกิดและวันเสียชีวิต

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เกิดเมื่อวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ. 1879 ในเมืองอูล์มของเยอรมัน ซึ่งส่วนหนึ่งงของจักวรรดิเยอรมัน ตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1806 – 1918
และเมื่อไอน์สไตน์ได้โอนสัญชาติมาเป็นชาวอเมริกันก็ได้เสียชีวิตด้วยวัย 76 ปี ณ พรินสตัน รัฐนิวเจอร์ซีย์ สหรัฐอเมริกา ด้วยโรคหัวใจวาย

ผลงานและความสำเร็จ

การคิดค้นทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ
ปี พ.ศ. 2448 ขณะที่ไอน์สไตน์ทำงานอยู่ที่สำนักงานสิทธิบัตร ก็ได้ตีพิมพ์บทความ 4 เรื่องใน Annalen der Physik ซึ่งเป็นวารสารทางฟิสิกส์ชั้นนำของเยอรมนี บทความทั้งสี่นี้ในเวลาต่อมาเรียกชื่อรวมกันว่า “AnnusMirabilis Papers”

● บทความเกี่ยวกับธรรมชาติเฉพาะตัวของแสง นำไปสู่แนวคิดที่ส่งผลต่อการทดลองที่มีชื่อเสียง คือปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก หลักการง่ายๆ ก็คือ แสงมีปฏิกิริยากับสสารในรูปแบบของ “ก้อน” พลังงาน (ควอนตา) เป็นห้วงๆ แนวคิดนี้เคยนำเสนอมาก่อนหน้านี้แล้วโดย แมกซ์ พลังค์ ในปี พ.ศ. 2443 ซึ่งเป็นแนวคิดที่ขัดแย้งกับทฤษฎีเกี่ยวกับคลื่นแสงที่เชื่อกันอยู่ในยุคสมัยนั้น

● บทความเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของบราวน์ อธิบายถึงการเคลื่อนไหวแบบสุ่มของวัตถุขนาดเล็กมากๆ ซึ่งเป็นผลโดยตรงจากการกระทำของโมเลกุล แนวคิดนี้สนับสนุนต่อทฤษฎีอะตอม

● บทความเกี่ยวกับอิเล็กโตรไดนามิกส์ของวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ เป็นกำเนิดของทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ แสดงให้เห็นว่าความเร็วของแสงที่กำลังสังเกตอย่างอิสระ ณ สภาวะการเคลื่อนที่ของผู้สังเกตจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงโดยพื้นฐานไปเหมือนๆ กัน ผลสืบเนื่องจากแนวคิดนี้รวมถึงกรอบของกาล-อวกาศของวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่จะช้าลงและหดสั้นลง (ตามทิศทางของการเคลื่อนที่) โดยสัมพัทธ์กับกรอบของผู้สังเกต บทความนี้ยังโต้แย้งแนวคิดเกี่ยวกับ luminiferous aether ซึ่งเป็นเสาหลักทางฟิสิกส์ทฤษฎีในยุคนั้น ว่าเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น

● บทความว่าด้วยสมดุลของมวล-พลังงาน (ซึ่งก่อนหน้านี้เชื่อว่ามันไม่เกี่ยวข้องกันเลย) ไอน์สไตน์ปรับปรุงสมการสัมพัทธภาพพิเศษของเขาจนกลายมาเป็นสมการอันโด่งดังที่สุดแห่งคริสต์ศตวรรษที่ 20 คือ E = mc2 ซึ่งบอกว่า มวลขนาดเล็กจิ๋วสามารถแปลงไปเป็นพลังงานปริมาณมหาศาลได้ ซึ่งเป็นจุดกำเนิดการพัฒนาของพลังงานนิวเคลียร์

รางวัลโนเบล

หลายคนคิดว่าไอน์สไตน์ได้รางวัลโนเบลจาก ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั้งสอง แต่ความจริงแล้วเข้าได้รับรางวัลโนเบล จากการอธิบายปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริคได้ เนื้อจากในสมัยนั้น นักวิทยาศาสตร์ ต่างไม่ค่อยเห็นด้วยกันทฤษฏีสัมพัทธภาพ เพราะพิสูจน์และทดลองได้ยาก อีกทั้งเหนือสามัญสำนึกของคนทัวไป

สรุป

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงและผลงานที่สำคัญในวงการวิทยาศาสตร์ ทฤษฎีสัมมาคาร์และผลงานอื่น ๆ ของเขาได้มีผลสร้างสรรค์ที่สำคัญและมีผลต่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ในยุคสมัย
สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ : ประวัติศาสตร์